• About
  • Advertise
  • Terms & Conditions
  • Privacy & Policy
  • Team
  • Contact
What Car? Thailand
Mazda-CX-3-Banner-whatcar-728x90-102023
  • Home
  • Reviews
    • First Drive
    • Road Test
    • Road Trips
    • Comparison
  • New Car
  • Awards
  • Column
    • Editor’s Talk
    • Insights
    • Your Cars
    • Feature
    • Advice
    • Tip Technic
  • News
    • PR
    • Inter News
    • Promotion
    • Big Bike
    • CSR
  • About
  • Contact
No Result
View All Result
  • Home
  • Reviews
    • First Drive
    • Road Test
    • Road Trips
    • Comparison
  • New Car
  • Awards
  • Column
    • Editor’s Talk
    • Insights
    • Your Cars
    • Feature
    • Advice
    • Tip Technic
  • News
    • PR
    • Inter News
    • Promotion
    • Big Bike
    • CSR
  • About
  • Contact
No Result
View All Result
What Car? Thailand
No Result
View All Result
Home News PR

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ร่วมกับพันธมิตรแถลงผลงาน โครงการบริหารจัดการข้อมูลจราจรบนถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร ข้อเสนอมาตรการการแก้ปัญหาจราจร โดยการใช้ข้อมูลในการบริหารจัดการการจราจร

April 25, 2023
in PR
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

        เมื่อวันที่ 25 เมษายน กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ซึ่งเป็นมูลนิธิอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ร่วมกับพันธมิตรได้แก่ กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีปิดโครงการพระราม 4 โมเดล: การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า (พระราม 4 โมเดล) เพื่ออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้และข้อเสนอแนะจากโครงการที่ดำเนินการมากว่า 3 ปีโดยการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อหาแนวทางลดปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ โครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยมุ่งเน้นที่ถนนพระราม 4 เป็นพื้นที่ทดลองทำการรวบรวมข้อมูล และหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจร

        ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายมนตรี เดชาสกุลสม และ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีปิด รับทราบผลการดำเนินงานของโครงการ และได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นๆ ที่ได้ร่วมงาน ได้แก่ มร. ปาซานา คุมาร์ กาเนซ ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี้ ดร. จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต จิรสันต์ แก้วแสงเอก ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการจุฬายูนิเสิร์ช จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

        โครงการพระราม 4 โมเดล เป็นโครงการต่อเนื่องจาก “โครงการสาทรโมเดล” และดำเนินการโดยทีมงานเดียวกันตั้งแต่ปี 2558-2560 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจากการดำเนินมาตรการแก้ปัญหาอันหลากหลาย บริการถรับส่ง Smart Shuttle Bus การเหลื่อมเวลาทำงาน บริการจอดแล้วจร (Park & Ride) และนำมาสู่ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาการจราจร และนำเสนอแก่หน่วยงานรัฐและกรุงเทพมหานครเพื่อขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพ  และมาตรการหลายๆ อย่างเช่น การจัดช่องจราจรพิเศษ ซึ่งยังคงดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน

แนวทางดำเนินงานและวัตถุประสงค์

        โครงการสาทรโมเดลดำเนินการประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามเป็นการดำเนินการที่อาศัยวิธีการลองผิดลองถูกจากสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ทางพันธมิตรเชื่อว่ามีวิธีการที่ถูกต้องและแม่นยำมากกว่า โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการจราจร พระราม 4 โมเดลจึงเกิดขึ้นโดยเป็นโครงการที่ออกแบบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ เพื่อศึกษาและทดสอบความสามารถในการใช้วิธีแก้ปัญหาขั้นสูง โดยใช้ข้อมูลที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนพระราม 4 สาเหตุที่เลือกถนนเส้นนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการจราจรคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่ทางภาครัฐให้ความสำคัญ โดยมีมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ให้การสนับสนุนเงินทุน จำนวน 52 ล้านบาท และคาดหวังผลลัพธ์ใน 3 ประการ

  1. ใช้ข้อมูลเพื่อแสดงภาพข้อมูลการจราจรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงของชุดข้อมูลต่างๆ
  2. ระบุสาเหตุที่แท้จริง และแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ของการจราจรติดขัด และเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากชุดข้อมูลต่างๆ และตรวจสอบความถูกต้องโดยการวัดเชิงคุณภาพ
  3. สรุปและแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ และข้อเสนอแนะในแง่ของวิธีการ/หลักการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

1. การรวบรวมข้อมูลและการแสดงภาพทางกราฟฟิก (Visualization)

        ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการรวบรวมข้อมูล เช่น CCTV-AI (13 จุด) เซนเซอร์บลูทูธ (50 ตัว) และเซนเซอร์ NDRS (10 เครื่อง) นอกจากนี้บริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด และมูลนิธิ iTIC  ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านข้อมูล ได้ช่วยเหลือในการให้ข้อมูล GPS รถแท็กซี่แก่โครงการ ด้วยผลกระทบของโควิด 19 ทำให้ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลได้รับผลกระทบเกิดความล่าช้า แต่ท้ายสุดทางทีมงานก็สามารถดำเนินการติดตั้งและเก็บรวมข้อมูลที่จำเป็นได้สำเร็จ

         ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดการแบบลีน (ลดการสูญเปล่า) ของโตโยต้า เราได้พัฒนา Data Visualization Platforms (รูปที่ 1) เป็นส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหาในการวางแผนการจราจรในกรุงแทพ และเพื่อสนับสนุนการจัดการจราจรแบบเรียลไทม์โดยตำรวจจราจร ทีมงานได้พัฒนา “ข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์” (real-time traffic data) หรือ “war room” ซึ่งจะมีข้อมูลจราจรต่างๆ เพื่อทำให้ตำรวจจราจรสามารถมองเห็น เข้าใจสภาพการจราจร ทำให้บริหารจัดการการจราจรได้ดีขึ้น ตัวอย่างของการแสดงภาพจากแพลตฟอร์มใหม่ เช่น

• 100 จุดฝืด (100 friction points) : รวบรวมข้อมูลย้อนหลังผ่าน GPS Probe ทำให้สามารถจำแนกระดับของการจราจรที่ติดขัดได้อย่างแม่นยำ และแสดงภาพความเร็วการจราจรเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมงตามช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น และจัดอันดับเป็น 100 อันดับแรกเพื่อสนับสนุนทางกรุงเทพมหานคร ในการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา

• Historical Speed Map : แสดงข้อมูลความเร็วในอดีต ช่วยให้วิเคราะห์ตามโซนและถนนแต่ละเส้นได้ สามารถเลือกแสดงผลได้จาก 3 ตัวเลือก 1) Free-Flow Speed (FFS), 2) Travel Time Index (TTI) และ 3) Road Segment Speed

• Travel Time Map : แสดงข้อมูลเวลาที่ใช้ในการเดินทางในอดีต ทำให้เห็นสภาพการจราจรในวันและเวลาต่างๆ

• Origin Destination Maps (OD-Maps): OD Maps แสดงภาพการเดินทางระหว่างจุดต้นทางและปลายทางของการเดินทางที่เลือก ข้อมูลเส้นทางการเดินทางและปริมาณการเดินทางดังกล่าวช่วยในการบริหารจัดการจราจรและหาแนวทางแก้ไข การเลือกและศึกษาตามวันที่และเวลาที่สนใจจะสามารถทำให้การวางแผนมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเลือกโดยการเจาะจงต้นทางหรือปลายทางที่คนนิยมใช้เดินทาง ณ ชั่วโมงที่กำหนดของวันนั้นๆ  ก็สามารถนำมาสู่การวางแผนการระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นหรือ share mobility

2. ระบุสาเหตุของปัญหาการจราจรและเหตุการณ์ต่างๆ

จากการหาข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ทราบว่ามี 3 จุดที่รถติดมากที่อยู่บนถนนพระราม 4 และเชื่อมต่อกับพระราม 4 ซึ่งทำให้การจราจรติดขัด (รูปที่ 2) ได้แก่

A. พื้นที่พระโขนง (เชื่อมต่อกับพื้นที่อ่อนนุช):

         จุดที่เป็นคอขวดคือบริเวณซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ย่านอ่อนนุช จากข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ทำให้ทราบว่ามีสาเหตุมาจากการข้ามทางม้าลายของคนเดินเท้าอยู่ตลอดเวลา และการจอดรถของวินมอเตอร์ไซด์และรถสองแถว (รูปที่ 3) ดังนั้น ในส่วนหนึ่งของการทดลองทางสังคมของเรา จึงดำเนินมาตรการหลักสองประการ ก) จัดระเบียบคนข้ามถนนที่ทางม้าลาย และ ข) ย้ายตำแหน่งที่จอดรถของรถสองแถวให้ห่างจากหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ออกไป ด้วยมาตรการเหล่านี้ เราสามารถลดเวลาการข้ามถนนบนทางม้าลายได้ 23 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน (15:00-18:00 น.) และทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น 10%

การจัดการผู้สัญจรจำนวนผู้สัญจร(หน่วย : คนต่อกลุ่ม)เวลา (ระหว่าง 16:00 -19:00 น.)จำนวนยานพาหนะที่วิ่งระหว่างสัญญาณไฟเขียวความเร็วเฉลี่ย(กม./ชม.)
ก่อนการทดลอง7 คน92 นาที4,08012.0
หลังการทดลอง19 คน69 นาที4,50013.0
ผลลัพธ์ประหยัดเวลา 23 นาที (+25%)420 (+10%)1.0 (+8%)

ข้อเสนอแนะ : จากผลการทดลองทางสังคม ทีมงานได้เสนอข้อเสนอแนะการจัดการการจราจรหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ หรือการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติและสอดคล้องกับสัญญาณไฟที่แยกอ่อนนุช และการพิจารณาจุดจอดที่เหมาะสมสำหรับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง (รูปที่ 4)

B. พื้นที่เกษมราษฎร์:

         เนื่องจากสภาพทางกายภาพของถนนที่แคบ (เป็นวงเล็กๆ จากแยกม้าศึกไปยังถนนพระราม 4) และมีการตัดกันของกระแสรถที่วิ่งออกมาจากซอยสุขุมวิท 22 และถนนพระราม 4 จึงทำให้เกิดปัญหารถติดขัดบ่อยครั้งในแยกม้าศึกและเกษมราษฎร์ จากการศึกษาสิ่งที่จะช่วยให้การจราจรดีขึ้นคือ การประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพของตำรวจที่แต่ละแยก ทำให้ตำรวจมีข้อมูลของสภาพการจราจรมากขึ้น เพื่อให้จัดการการจราจรได้ดีขึ้น (รูปที่ 5) ทางโครงการจึงได้จัดกิจกรรม Knowledge Management ด้านการจราจรหลายครั้ง (เพื่อให้การประสานงานระหว่างตำรวจแต่ละแยกให้ดีขึ้น) และติดตั้งจอแสดงข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์ (รูปที่ 6) ตลอดพื้นที่พระราม4 (เช่น ข้อมูลสัญญาณไฟจราจร ข้อมูลอุบัติการณ์ต่างๆ แผนที่สภาพการจราจร และกล้องวงจรปิด) ส่งผลให้เราสามารถลดระยะเวลาความผิดปกติของการเปิดสัญญาณไฟโดยเฉลี่ย 10% ต่อวัน (รูปที่ 7)

        นอกจากนี้ ห้องควบคุมการจราจรแบบเรียลไทม์ที่ติดตั้งอยู่ 12 ป้อมตำรวจในโครงการพระราม 4 ได้ถูกส่งมอบให้กับตำรวจจราจร เพื่อจะนำไปใช้บรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ต่อไป ภายหลังสิ้นสุดการทดลองใช้ในโครงการพระราม 4 โมเดล

C. พื้นที่ฝั่งตะวันตก

        เนื่องด้วยข้อจำกัดในการมองเห็นสภาพการจราจรและเหตุการณ์ต่างๆ บนสะพานไทย-ญี่ปุ่น ทำให้ตรวจพบปัญหาที่เกิดขึ้นบนสะพานได้ล่าช้า ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และขยายไปยังพื้นที่และถนนเส้นอื่นๆ โครงการจึงทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อตรวจจับเหตุการณ์ความผิดปกติบนสะพานไทย-ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นรถเสียหรือรถชน และเมื่อตรวจพบระบบจะทำการแจ้งเตือนตำรวจจราจรที่ป้อมสามย่านทันที (รูปที่ 8)

3. สรุปข้อค้นพบและข้อเสนอแนะในแง่ของระเบียบวิธี

         ทีมงานโมเดลพระราม 4 ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการจัดการจราจรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลผ่านโครงการนี้อย่างชัดเจน การใช้ข้อมูลในอดีตสำหรับดูแนวโน้มที่สามารถรองรับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจร เช่น เวลาเปิด-ปิดสัญญาณไฟ หรือตารางเวลาและเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่มีอย่างเหมาะสมก็สามารถช่วยสนับสนุนการจัดการจราจรและบังคับใช้ รวมถึงการจัดการเหตุการณ์ต่างๆ และความผิดปกติที่เกิดขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการที่จะมีแพลตฟอร์มในการแชร์ข้อมูลแบบเปิดมากขึ้นและประสานความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

         ผลการวิจัยที่ได้จากโมเดลพระราม 4 ถูกรวบรวมและจัดพิมพ์ในรูปแบบ e-Book เพื่อแบ่งปันเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ (เฉพาะภาษาไทย) https://service.rama4model.in.th/documents/eBook_Rama4Model.pdf

นอกจากนั้น ทีมงานยังได้ตระหนักถึงความท้าทายบางประการที่พบในโครงการนี้ ได้แก่:

(a) การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้งาน: ในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูล แต่การได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอและการจัดเก็บข้อมูลก็ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทาย อีกทั้งยังมีราคาแพง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล (เช่น กล้องวงจรปิดพร้อม AI) และร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลที่จำเป็น รวมถึงมีแนวทางที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเพื่อแบ่งปันข้อมูล

(b) การแบ่งปันข้อมูล: เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาแนวทางการแบ่งปันข้อมูล (มีการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม) กับหน่วยงานเอกชนหรือภาครัฐที่ต้องการทำงานด้านการจัดการการรับ-ส่งข้อมูล แนวทางการแบ่งปันข้อมูลแบบเปิดจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

(c) ความเชี่ยวชาญและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล: จำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientist) และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการจราจร (ร่วมกับการวางผังเมือง) ซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อศึกษาข้อมูล ทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์และแบบจำลอง และสร้างการใช้งานที่หลากหลาย เพื่อปรับปรุงการจัดการจราจรของเมืองอย่างต่อเนื่อง

(d) การบังคับใช้: มีความจำเป็นต้องมีกับการบังคับใช้การจัดการจราจรที่เข้มข้นขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าการฝ่าฝืน (โดยเฉพาะการจอดรถ พฤติกรรมการขับขี่ ฯลฯ) และอุบัติการณ์ต่างๆ จะลดลง ซึ่งจะเป็นการลดจุดที่มีปัญหารถติดทำให้รถติดน้อยลง

          เมื่อภายหลังสิ้นสุดโครงการแล้ว พันธมิตรบางท่านได้แสดงความคิดเห็นต่อโมเดลพระราม 4 ดังนี้

          ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “การแก้ปัญหาการจราจรถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทางกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวกรุงเทพฯ ดีขึ้น      นั่นคือเหตุผลที่เราพยายามมุ่งเน้นส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและข้อมูล เพื่อให้การจัดการจราจรมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนี้ เราได้ริเริ่มนโยบายต่างๆ เพื่อปรับปรุงการจราจร การจัดตั้งศูนย์ควบคุมการจราจร (Traffic Command Center) และการจัดการจราจรอัจฉริยะ รวมถึงการใช้ Big data และ AI ซึ่งในโครงการพระราม 4 โดยมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเหล่านี้ และได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงประโยชน์ของข้อมูลเชิงลึกและการจัดการด้วยข้อมูลโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human Centric Data Driven Insight and Management) เพื่อปรับปรุงสภาพการจราจรและการบริหารจัดการ ผมขอขอบคุณมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และผมได้สั่งการให้กทม.ดำเนินการและขยายผลแนวทางแก้ไขไปยังพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพมหานครต่อไป”

        รศ.ดร. สรวิศ นฤปิติ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความภูมิใจมากที่ได้ร่วมเข้าทำงานกับ TMF และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ภายใต้โครงการพระราม 4 โมเดลเพื่อสร้างต้นแบบของการใช้วิชาการเพื่อสร้างกระบวนการคิด และการนำเทคโนโลยีข้อมูล มาทำให้เห็นเป็นรูปธรรม เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ทำให้เกิดการเรียนรู้ นำไปขยายผลปฏิบัติใช้ในวงกว้างในประเทศ และ เป็นตัวอย่างที่ดีของเมืองต่างๆ ของโลกต่อไป”

        มร. ปาซานา คุมาร์ กาเนซ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ กล่าวว่า “มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ดำเนินงานภายใต้หลักการ 3 ข้อ คือ นวัตกรรม ความยั่งยืน และความร่วมมือ และด้วยจุดมุ่งหมายเหล่านี้เพื่อส่งเสริม Mobility for All วิธีการแก้ปัญหาการจราจรแบบเดิมที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้และทำอยู่ในหลายๆ ประเทศ คือ การแก้ปัญหาผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก ข้อมูลที่มีการตรวจสอบเชิงคุณภาพโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางจะช่วยให้เราสามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดและบรรเทาผลกระทบที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง และลักษณะเฉพาะของแต่ละเมือง แม้ว่าโครงการของเราจะเป็นโครงการทดลอง แต่เราได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำมากมายที่เราเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาศาสตร์ของการจัดการจราจรและการวางผังเมืองด้วยการใช้ข้อมูล เราเชื่อในการทำงานร่วมกันโดยใช้ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกจากมนุษย์ในการระบุและขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้ผู้คนและสินค้าเดินทางได้อย่างอิสระซึ่งโครงการนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และเราขอขอบคุณพันธมิตรของเราทั้งหมด กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด มูลนิธิ ITIC บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการสนับสนุนอันล้ำค่าทำให้โครงการนี้เป็นรากฐานสำหรับความพยายามขับเคลื่อนข้อมูลในอนาคต”

Tags: TOYOTA

Related Posts

News

สรยท. ประกาศชื่อรถ-รถจักรยานยนต์เข้ารอบสุดท้าย THAILAND CAR OF THE YEAR 2024

October 30, 2024
News

ประกาศผลรางวัลรอบชิงชนะเลิศ การประกวดแต่งรถกระบะไฮลักซ์ รีโว่-ดี แซดอิดิชั่น ภายใต้กิจกรรม “อาชีวะ ท้าแต่งแซด กับ ไฮลักซ์ รีโว่-ดี แซดอิดิชั่น ปี 2”

October 30, 2024
News

มาสด้า CX-5 รถอเนกประสงค์ครอสโอเวอร์เอสยูวีรุ่นบุกเบิกต้นกำเนิดเทคโนโลยีสกายแอคทีฟที่ครองใจลูกค้าทั่วโลก

October 29, 2024
News

สัมผัสประสบการณ์ที่เหนือกว่าจากเอเอเอสฯ“AAS Roadshow at One Bangkok” พบยนตรกรรมสปอร์ตปอร์เช่และอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์ณแลนด์มาร์คใหม่ใจกลางกรุง“วันแบงค๊อก”

October 27, 2024
News

เลกซัส ประเทศไทย จับมือ EM DISTRICT แจกรถยนต์ไฟฟ้า LEXUS RZ 450e Luxury ให้กับสุดยอดนักช้อป Top Spender

September 29, 2024
News

ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม ยังคงฟื้นตัวช้า  ยอดขาย 45,190 คัน ลดลง 25%

September 27, 2024
Leave Comment

What Car? Thailand

 

นิตยสารและเว็บไซต์ whatcar.co.th เนื้อหาลิขสิทธิ์รถยนต์ที่แรกที่เดียวในไทย เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ จาก What Car? whatcar.com ประเทศอังกฤษซึ่งได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกมายาวนานกว่า 45 ปี.

Follow us

Categories

  • Awards
  • Big Bike
  • Comparison
  • CSR
  • Feature
  • First Drive
  • Insights
  • Inter News
  • New Car
  • News
  • PR
  • Promotion
  • Reviews
  • Road Test
  • Road Trips
  • Tip Technic
  • Uncategorized
  • Your Cars

Instagram

  • ลาก่อน EQS สวัสดี S-Class รถยนต์ไฟฟ้า : Mercedes จะรวมทั้งสองรุ่นเข้าด้วยกันในปี 2030 ⚡
  • พักเบรกกับค่ายจีน 🇨🇳ที่กำลังลงมาเล่นตลาด ⚡🔋
รถยนต์ไฮบริด (Hybird) นั่งกันไม่ติดและ ญี่ปุ่น 🇯🇵
.
ไม่รู้ว่านุดมีแมว...หรือแมวมีนุดกันแน่ 😆
 "ประกาศิต" ก็เป็นทาสจ๊ะ 555
.
แม่น้ำตาลเป็นแมวที่อายุใกล้ 20 ปี ก็จะดูวัยรุ่นหน่อย 😸
โลกนี้ให้ความสำคัญกับแมวอยู่นะ.... “วันแมวโลก”  International Cat Day 
8 สิงหาคมของทุกปี
.
#InternationalCatDay 
#แม่น้ำตาลหวานเจียบ
  • เดินทางด้วยรถ Benz E 220 d AMG Line 😆🌊🌴
จากเส้นทางภูเก็ต - พังงา ถึง รร.เยาววิทย์ 
ทริป /CSR เมอร์เซเดสเบนซ์ ประเทศไทย
.
ขนาดตัวถัง
- ยาว x กว้าง x สูง : 4,935 x 1,852 x 1,460 มิลลิเมตร
- ระยะฐานล้อ wheelbase : 2,939 มิลลิเมตร
.
เครื่องยนต์
.
เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 2.0 ลิตร เทอร์โบ กำลังสูงสุด 197 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 440 นิวตันเมตร ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก EQ Boost พละกำลัง 23 แรงม้า 205 นิวตันเมตร Mild Hybrid 48V ช่วยในการออกตัว จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 9 จังหวะ 9G-Tronic ขับเคลื่อนล้อหลัง
.
- อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.6 วินาที
- ความเร็วสูงสุด Top Speed 238 km/h
.
ภายนอก
- ชุดตกแต่งภายนอก AMG Body Styling
- ล้ออัลลอย ขนาด 19 นิ้ว
- ไฟหน้า LED High Performance
- ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ Adaptive Highbeam Assist
- ระบบกุญแจ Keyless-GO
- ฝาท้าย เปิด-ปิด ด้วยระบบไฟฟ้า
- ระบบเปิด-ปิด ฝาท้าย โดยไม่ต้องใช้มือ Hands-Free Tailgate
- ระบบช่วยปิดประตู Power Closing Doors (ประตูดูด)
.
ภายใน และระบบอำนวยความสะดวก
- เบาะนั่งคนขับ ปรับด้วยไฟฟ้า พร้อม Memory Seat
- เบาะนั่งผู้โดยสารตอนหน้า ปรับด้วยไฟฟ้า พร้อม Memory Seat
- ระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ แยกอิสระ 2-Zones
- ระบบปรับสมดุลอากาศ - ฟอกอากาศ ENERGIZING AIR CONTROL (HEPA)
- ม่านบังแดดประตูคู่หลัง
- ม่านบังแดดกระจกบังลมหลัง
- หน้าจอ MBUX Multimedia HyperScreen และ หน้าจอมาตรวัดแบบ 3D
- Passenger Screen หน้าจอแยก สำหรับผู้โดยสารตอนหน้า ที่แยกควบคุมกับจอกลางได้ โดยไม่รบกวนการควบคุมของส่วนกลางภายในรถ
- ที่ชาร์จโทรศัพท์แบบไร้สาย Wireless Charger
- ระบบช่วยจอดอัตโนมัติ Active Parking Assist
- กล้องรอบคัน 360 องศา
- ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตา Blind Spot Assist
- ระบบเตือนเมื่อเปิดประตูลงจากรถ Exit Warning
- ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารตอนหลัง
- ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน Active Distance Assist DISTRONIC with Stop&Go
- ระบบช่วยเหลือการขับขี่ Lane Tracing Package
- ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องจราจร Active Lane Keeping Assist
- ระบบเตือนการชนด้านหน้า Collision Warning
- ระบบช่วยเหลือการขับขี่ Advanced Driving Assistance System
.
.
#MercedesBenz #EClass #E220d #E220dAMGLine
  • สีดำ....หล่อแบบเข้ม เข้ม 😆
เผยโฉม ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน แบล็ก เอดิชัน รุ่นพิเศษ จำนวนจำกัด
ด้วยการตกแต่งภายนอกสีดำสุดเท่ ประกอบด้วย ไดนามิก ชีลด์และกรอบไฟตัดหมอกสีดำเงา ล้ออัลลอยสีดำขนาด 18 นิ้ว กระจกมองข้างสีดำเงา มือเปิดประตูด้านนอกสีดำเงา มือเปิดกระบะท้ายสีดำเงา บันไดข้างตกแต่งสีไทเทเนียมรมดำ และกันชนหลังสีดำตกแต่งด้วยสีไทเทเนียมรมดำ 
.
เครื่องยนต์คลีนดีเซล เทอร์โบ ไฮเปอร์พาวเวอร์ (Hyper Power) ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ให้กำลังสูงสุดที่ 184 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตร ผสานช่วงล่างใหม่และแชสซีส์เมกาเฟรมใหม่ที่ใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้น 
.
เทคโนโลยีความปลอดภัยรอบคัน ไดมอนด์ เซนส์ (Diamond Sense) 
-ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง พร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว (Forward Collision Mitigation System: FCM) 
-ระบบสัญญาณเตือนจุดอับสายตา (Blind Spot Warning: BSW) 
-ระบบสัญญาณเตือนขณะเปลี่ยนเลน (Lane Change Assist: LCA) 
-ระบบเตือนด้านหลังขณะถอยออกจากช่องจอด (Rear Cross Traffic Alert: RCTA) 
-ระบบปรับระดับไฟสูง-ต่ำอัตโนมัติ (Auto High Beam: AHB) 
-กล้องมองภาพรอบคัน (Multi Around Monitor: MAM) 
-พร้อมระบบตรวจจับและแจ้งเตือนวัตถุหรือบุคคลที่เคลื่อนไหวจากกล้องรอบคัน (Moving Object Detection: MOD) 
.
ซึ่งเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะทั้งหมดนี้ สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวและสภาพแวดล้อมรอบตัวรถ ด้วยเซ็นเซอร์และเรดาร์ที่ละเอียด แม่นยำ พร้อมปกป้องคุณให้ปลอดภัยในทุกเส้นทางที่ไปในแบบ 360 องศา
.
อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ครบครัน อาทิ หน้าจอขนาด 9 นิ้ว ที่รองรับได้ทั้ง Apple CarPlay ที่พร้อมเชื่อมต่อแบบไร้สาย และ Android Auto 
.
#WHATCARThailand
#MitsubishiMotorsThailand #mitsubishitritonblackedition
#triton #blackedition
  • A5 Sedan ใหม่ ตัวแทน Audi A4 Sedan คู่แข่งใหม่ BMW 3 Series และ Mercedes C-Class
.
ภายนอกออกแบบใหม่ด้วยกระจังหน้าเพรียวขึ้น ไฟหน้าแบบ LED daytime running และไฟท้ายแบบ OLED ที่สามารถปรับการแสดงผลได้สูงสุด 8 รูปแบบ ที่นอกจากจะแสดงความแตกต่างเพื่อความสวยงามแล้ว สำหรับไฟท้ายยังสามารถใช้เป็นการสื่อสารกับรถคันหลังได้อีกด้วย
.
ภายในออกแบบหน้าจอ  3 ชิ้น โดยเลือกใช้แนวคิดการยึดหลักผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง หน้าจอแสดงผลข้อมูลการขับขี่ virtual Cockpit ใช้เทคโนโลยีหลอดไฟแบบ OLED ขนาด 11.9 นิ้ว ทำงานร่วมกับหน้าจอกลางขนาด 14.5 นิ้ว เป็นระบบสัมผัส ทั้งยังมีออฟชั่นหน้าจอสำหรับความบันเทิงของผู้โดยสารตอนหน้าขนาด 10.9 นิ้ว
ความพิเศษยังอยู่ที่ A5 Sedan ที่ติดตั้งฝากระโปรงท้ายแบบยกเปิด เสมือนเป็นรุ่น Sportback จากโรงงาน
.
เครื่องยนต์มีให้เลือกทั้ง เบนซิน ดีเซล และปลั๊กอินไฮบริด
2.0 TDI
เครื่องยนต์ดีเซล TDI แบบ 4 สูบ ความจุ 2.0 ลิตร พร้อมระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ กำลังสูงสุด 204 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 400 นิวตัน-เมตร  สำหรับรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าและขับเคลื่อน 4 ล้อ quattro ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติแบบ dual-clutch
.
2.0 TFSI
เครื่องยนต์เบนซิน TFSI แบบ 4 สูบ ความจุ 2.0 ลิตร พร้อมระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ กำลังสูงสุด 150 แรงม้า (PS) สำหรับรุ่นขับเคลื่อนล้อคู่หน้าเท่านั้น และรุ่นอัพเกรด 204 แรงม้า (PS) สำหรับรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้าและขับเคลื่อน 4 ล้อ quattro ultra ส่งกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติแบบ dual-clutch
.
รุ่น S5
เครื่องยนต์เบนซิน TFSI แบบ V6 ขนาด 3.0 ลิตร พร้อมระบบอัดอากาศแบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ กำลังสูงสุด 367 แรงม้า (PS) พร้อมด้วยเทคโนโลยี Mild-Hybrid 48-volt เพื่อลดมลพิษสำหรับการขับขี่ที่ความเร็วต่ำ
.
#WHATCARThailand
#AUDI #A5Sedan
  • #Promotion #Toyota ข้อเสนอพิเศษสำหรับผู้ซื้อรถในงาน #MOTORSHOW2024
#PR #promote #whatcar #whatcarthailnd 🥳👍🫰
  • #Tesla #Cybertruck ลองกระสุนเบอร์ไหนเข้า...? คุ้มนะถ้า 2.5m Baht คนไทยพร้อมซื้อ (รวย)😆🥳😃🧐🤓
#whatcar #whatcarthailand
  • พาชม #Porsche ในงาน Motor Show 2024
#whtacarthailand #whatcar
  • พาชม #Mitsubishi ในงาน Motor Show 2024
#whatcar #whatcarthailnd

Newsletter

© 2022 What Car? Thailand - Designed by Coinfinity Power.

  • About
  • Advertise
  • Terms & Conditions
  • Privacy & Policy
  • Team
  • Contact

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อให้ท่านสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง และอำนวยความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ รวมถึงช่วยให้เราปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาตรงตามความต้องการของท่าน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในนโยบายคุกกี้นโยบายคุกกี้ กด “ยอมรับ”
Cookie settingsยอมรับ
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-advertisement1 yearSet by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Advertisement" category .
cookielawinfo-checkbox-analytics1 yearSet by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Analytics" category .
cookielawinfo-checkbox-functional1 yearThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary1 yearSet by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to record the user consent for the cookies in the "Necessary" category .
cookielawinfo-checkbox-others1 yearSet by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to store the user consent for cookies in the category "Others".
cookielawinfo-checkbox-performance1 yearSet by the GDPR Cookie Consent plugin, this cookie is used to store the user consent for cookies in the category "Performance".
CookieLawInfoConsent1 yearRecords the default button state of the corresponding category & the status of CCPA. It works only in coordination with the primary cookie.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
CookieDurationDescription
_lscache_vary2 daysNo description available.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
CookieDurationDescription
_ga2 yearsThe _ga cookie, installed by Google Analytics, calculates visitor, session and campaign data and also keeps track of site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognize unique visitors.
_gat_gtag_UA_51917967_11 minuteSet by Google to distinguish users.
_gid1 dayInstalled by Google Analytics, _gid cookie stores information on how visitors use a website, while also creating an analytics report of the website's performance. Some of the data that are collected include the number of visitors, their source, and the pages they visit anonymously.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
CookieDurationDescription
_fbpsessionThis cookie is set by Facebook to display advertisements when either on Facebook or on a digital platform powered by Facebook advertising, after visiting the website.
advanced_ads_browser_width1 monthThis cookie is set by Advanced ads plugin.This cookie is used to measure and store the user browser width for adverts.
personalization_id2 yearsTwitter sets this cookie to integrate and share features for social media and also store information about how the user uses the website, for tracking and targeting.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
CookieDurationDescription
jnews_view_counter_visits[0]2 months 2 days 15 hoursNo description
muc_ads2 yearsNo description
pvc_visits[0]1 dayThis cookie is created by post-views-counter. This cookie is used to count the number of visits to a post. It also helps in preventing repeat views of a post by a visitor.
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo
No Result
View All Result
  • Home
  • Reviews
    • First Drive
    • Road Test
    • Road Trips
    • Comparison
  • New Car
  • Awards
  • Column
    • Editor’s Talk
    • Insights
    • Your Cars
    • Feature
    • Advice
    • Tip Technic
  • News
    • PR
    • Inter News
    • Promotion
    • Big Bike
    • CSR
  • About
  • Contact

© 2021 What Car? Thailand - Designed by Coinfinity Power.