รถยนต์ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นการจะเลือกซื้อรถยนต์จึงมีหลากหลายเหตุผลที่ผู้ซื้อต้องคิดและนำมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น สมรรถนะ ความปลอดภัย ลักษณะการใช้งาน งบประมาณ หรือความชื่นชอบของดีไซน์ อีกหนึ่งองค์ประกอบที่มีผลต่อการตัดสินใจที่สำคัญนั่นคือ “เทคโนโลยี” บรรดาค่ายรถยนต์ต่างงัดกลเม็ดต่างๆ เข้ามาใส่ในรถยนต์แต่ละรุ่น เพื่อเป็นตัวช่วยให้การขับขี่เกิดความสะดวกสบายมากที่สุด มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ความมั่นใจของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร
หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจจาก Mazda ที่นำเสนอภายใต้แนวคิดที่แตกต่างจากคู่แข่ง โดยให้ความสำคัญกับความสนุกในทุกการขับขี่ และความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างคนกับรถ ล่าสุดได้เผยแพลตฟอร์มเจนเนอเรชั่นใหม่ SKYACTIV-VEHICLE ARCHITECTURE
การพัฒนาเทคโนโลยี SKYACTIV-VEHICLE ARCHITECTURE เกิดจากความต้องการความแข็งแกร่งที่มากขึ้นของโครงสร้างตัวถังใหม่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการอัตราเร่งและการประหยัดเชื้อเพลิงที่มากขึ้น เหล็กกล้าคุณภาพสูง High Tensile Steel ที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งจึงถูกนำมาใช้แทนโครงเหล็กแบบเดิมที่ส่งผลให้น้ำหนักตัวรถเพิ่มขึ้นและเป็นภาระต่อการควบคุมขับขี่
เทคโนโลยีใหม่นี้ยังสามารถจัดการกับแรงสั่นสะเทือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโครงสร้างตัวถังแบบวงแหวนหลายทิศทาง (Multi-directional Ring Structure) ที่รองรับแรงกระทำได้รอบทุกทิศทาง สามารถกระจายแรงปะทะที่จะเข้าสู่ห้องโดยสารในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยให้ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมไปถึงผู้ใช้ถนนได้อีกด้วย
เทคโนโลยี SKYACTIV-VEHICLE ARCHITECTURE คือแฟลตฟอร์มโครงสร้างตัวถังที่ใส่เทคโนโลยีลงไปรถ Mazda 3 รุ่นปี 2019 เป็นที่เรียบร้อยผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลกมาแล้วทั้งยุโรปและออสเตรเลีย ดังนั้น Mazda จึงมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อต่อยอดเทคโนโลยีโครงสร้างตัวถังนี้ไปสู่รถครอสโอเวอร์เอสยูวี All-New Mazda CX-30 ที่ใช้แฟลตฟอร์มโครงสร้างตัวถังใหม่มาจากรถยนต์นั่งขนาดกลางหรือ C-Segment ทำให้ขับขี่ได้อย่างอุ่นใจ ปลอดภัย และควบคุมรถได้ดั่งใจ เป็นรถครอสโอเวอร์เอสยูวีที่มีความคล่องตัว มีสมรรถนะสูงที่มาพร้อมกับพื้นที่ใช้สอยที่เป็นอรรถประโยชน์ และกำลังจะเปิดตัวในประเทศในเดือนมีนาคมนี้
เทคโนโลยี SKYACTIV-VEHICLE ARCHITECTURE ยังคงนำปรัชญาที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคนกับรถตามปรัชญา “จินบะ-อิตไต” ทีมพัฒนาของ Mazda ได้ศึกษาการเดินของมนุษย์อย่างลึกซึ้งพบว่า ทุกจังหวะการเดินศีรษะจะตั้งตรงอย่างมีสมดุล กระดูกสันหลังมีลักษณะเหมือนอักษรตัว S เมื่อมองจากด้านข้างลำตัว ถัดลงมาจะเป็นส่วนเชิงกรานที่มีลักษณะตั้งตรงเช่นกัน ทำหน้าที่ช่วยซับแรงสั่นสะเทือนจากการกระทบของฝ่าเท้ากับพื้นที่ส่งต่อขึ้นมาจากขา จึงนำมาต่อยอดสู่การพัฒนาตัวรถในหลายจุด เพื่อให้เกิดการทำงานที่สอดประสานกันอย่างลงตัวมากขึ้น ตั้งแต่ส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวถนนเช่นยางที่รับแรงกระแทกจากพื้นถนน ขึ้นมาสู่ระบบช่วงล่าง และตัวถังที่ได้รับการออกแบบใหม่ให้สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อแรงกระทำจากพื้นถนน และต่อเนื่องถึงผู้ขับขี่และผู้โดยสารผ่านเบาะนั่ง ซึ่งทุกองค์ประกอบเป็นส่วนสำคัญที่ได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้ใกล้เคียงกับท่วงท่าการเดินของมนุษย์ ให้ผู้ขับขี่เข้าถึงความสนุกในการขับขี่ได้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ หากได้ครอบครองรถยนต์ที่ควบคุมขับขี่ง่าย ให้ความปลอดภัยดีเยี่ยมก็คงจะดีไม่ใช่น้อย