All New Mazda BT-50 2020 ช่วงล่างแน่นหนึบหนับแถมลุยน้ำได้ 800 มม.

Overview Of Car

ระบะ 2 ทางเลือก 4 ประตูก็ได้ 2 ประตูก็โดน แถมมีอีก 2 เครื่องยนต์อย่าง ดีเซล 1.9 ลิตร และ ดีเซล 3.0 ลิตร พวงมาลัยปรับ 4 ทิศทาง ค่าตัวมาสด้าบอกต้องขออุ๊บไว้ก่อนเพราะเปิดตัวเป็นทางการปีหน้า 2021

ปิ๊กอัพฉบับปรับใหม่ สมรรถนะแรงขึ้นปรับให้ลุยได้ทุกท้องถนน ใช้เชิงพาณิชย์ก็ดี ขับขี่เล่นสร้างความเพลิดเพลินก็ได้ ทรงพลิ้วไหวแต่ช่วงล่างแน่นปึ้ก บึกบึนใช้ได้ ถึงแม้รูปร่างหน้าตาทรวดทรงมันจะตอบโจทย์ความต้องการทางตลาดของผู้บริโภคที่ใช้สำหรับขนของไปมาก็จริง แต่มาสด้า ไม่หยุดพัฒนาเสริมช่วงล่างให้สอดคล้องความเป็นกระบะ คุณสมบัติต้องแน่น ประสิทธิภาพต้องใช้งานได้จริง วางจำหน่าย 2021

                ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากระบะ Mazda BT-50 ยังเหมือนเป็นเพียงแค่รถขับสนุกเพลิดเพลินบนท้องถนน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นกระบะที่สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเชิงพาณิชย์ มาสด้า ยังตีตลาดลูกค้ากลุ่มสายลุยขึ้นเขาลงห้วยด้วยการพัฒนาให้สามารถลงน้ำลึกได้ดึง 800 มิลลิเมตร ฟังดูเหมือนจะเป็นกระบะที่ถ้านั่งแล้วแข็งกระด้างแต่ความเป็นจริงคือ Mazda BT-50 ได้รับการออกแบบช่วงล่างและภายในห้องโดยสารมาเป็นอย่างดีเทียบเท่ากับรถประเภท SUV มีความแตกต่างจากรุ่นอื่นอย่างแน่นอน

                ออปชั่นโดดเด่นเตะตามากมายกับพวงมาลัยที่สามารถปรับตำแหน่งได้ถึง  4 ทิศทาง พร้อมกุญแจรีโมทอัจฉริยะสตาร์ทและเปิดไฟภายในห้องโดยสาร (Welcome Light) ด้านสมรรถนะมาสด้า มอบทางเลือกให้ถึง 2 ทางด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร มีการเคลือบฉนวนที่ลูกสูบและเกียร์ Double-scissors ที่ช่วยลดเสียงรบกวน และเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.9 ลิตร เสริมการควบคุมอัตราเร่งที่เพิ่มความเร็วรอบเมื่อออกจากจุดสตาร์ท และระบบหล่อเย็น EGR ถูกติดตั้งมาในฝาสูบโดดเด่นด้านการออกตัว

                หลังจากที่มาสด้า ยอมเผยโฉม BT-50 ตัวใหม่นี้ ก็ได้จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถนะโดยเชิญชวนสื่อมวลชนเช่นเคย โดยครั้งนี้ทุกคนจะได้ลองขับตัวจริงบนสนามแห่งหนึ่งย่านวังน้อย อาจจะดูเป็นการขับขี่ในช่วงระยะเวลาสั้นไปหน่อยแต่อย่างน้อยได้ก็จับจุดสังเกตอาการได้อยู่ดี และทางทีม What Car Thailand ได้ลองสมรรถนะกับ 2  เครื่องยนต์เลย ทั้งรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 1.9 และเครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตรด้วยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ หลังจากนี้เราจะมาไขปริศนากันว่ามันจะต่างจากแฝดรุ่นพี่ Isuzu D-max อย่างไรกันบ้าง

สเปครถยนต์

Body Style:Pickup
Description:กระบะ 4 ประตู , กระบะตอนเดียว
Engine:ดีเซล 3.0 , ดีเซล 1.9
Fuel Consumption:14.1 กม./ลิตร 16.1 กม./ลิตร
Fuel Type:ดีเซล
Make:Mazda
Max Power:190 แรงม้า , 150 แรงม้า
Max Torque:450 นิวตันเมตร , 350 นิวตันเมตร
Model:Mazda BT-50
Release Date:25 ธันวาคม 2020
0-100 km/h:10.78 วินาที
Transmission:เกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด

ความแรงที่ทรงพลัง

ไม่รอช้าเราขอเริ่มต้นที่เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.9 ลิตร ด้วยความที่ Auto Hi-Racer ยกสูง กดเท้าเหยียบคันเร่งออกตัวเท่านั้นเรารับรู้ได้ถึงคำคุยที่เขาบอกมาว่าเครื่องยนต์นี้มันโดดเด่นด้านการออกตัวจากจุดสตาร์ทจริง ๆ กำลังเหลือพอต่อการใช้งานไม่ว่าจะขับด้วยเส้นทางระยะยาวไกลหรือสั้นนิดเดียว เกือบ 80% ที่เราจับจุดได้หลังจากเหยียบคันเร่งหนักขึ้นความรวดเร็วของการตอบสนองและความกระฉับกระเฉงที่รอรับแรงเราอยู่นั้นแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ตรงนี้เราแยกออกได้เลยว่า Mazda BT-50 เครื่องยนต์ดีเซล 1.9 ลิตรนี้ถูกเซ็ตกล่องมากันคนละสไตล์กับ Isuzu D-max แบบเห็นได้ชัดเมื่อลองขับทางตรงด้วยระยะสั้น ๆ ให้ความแรงได้ถึง 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  มาต่อกันที่ Mazda BT-50 เครื่องยนต์ดีเซล 3.0ลิตร  SP 4WD Auto แม้ว่าชายคนนี้จะต้องแบกรับตัวถังที่มีน้ำหนักราว ๆ 2 ตันได้โดยประมาณ รวมถึงการแบกเครื่องยนต์หรือชุดเกียร์ 4WD ถึงอย่างนั้นส่วนนี้ก็ไม่ได้เกิดอุปสรรคต่อการขับขี่ ว่องไว กระฉับกระเฉงพอ ๆ กับเครื่องเล็ก 1.9 ได้เลย พลิ้วไหวตามคาแรคเตอร์ที่ถูกวางไว้เลย เข้าโค้งได้เฉียบคมไม่ให้ความรู้สึกอึดอัดหรือเทอะทะเลย ให้แรงบิดได้ถึง 450 นิวตันเมตร สำหรับรอบการทำงานนั้นเริ่มที่ 1,600 รอบต่อนาที และตามมาด้วยเทอร์โบแปรผันไฟฟ้าผสานกับระบบคอมมอนเรลที่ฉีดจ่ายแรงสูง 250 MPa และให้ความเร็วได้ถึง 146 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยระยะทางสั้น ๆ เช่นกัน

ระบบเกียร์ที่ถูกพัฒนา

ด้านระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดของทั้งสองขุมพลังนั้นถูกปรับจูนให้การทำงานสัมพันธ์กับความเร็วได้ดีขึ้นด้วยการปรับกล่องกลไกลให้อยู่ในระดับที่ดีที่สุด ขณะที่สับเกียร์เร่งแซงตั้งแต่เกียร์ 1 ถึง 6 ไม่ทำให้เรารู้สึกขัดกระตุกอะไรเลยและด้านเก็บเสียงที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้น มาสด้า ทำการติดตั้งโฟมเข้าไปภายในเสาแต่ละต้นเพื่อช่วยดูดซับเสียงจากแผงประตูด้านข้าง เมื่อเราได้ลองเหยียบอยู่บนความเร็วไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเงียบกริบก็ไม่เชิงแต่ทำได้ดี แล้วถ้าลองเหยียบ 120 ขึ้นไปล่ะแน่นอนว่า มีเสียงลมเล็ดลอดบ้างประปรายแต่ก็ใช่ว่าจะเข้ามาจนเหมือนเปิดกระจกขับรถซะทีเดียว เรื่องการสั่นสะเทือนไม่มีผิดหวังด้วยการติดตั้งแผงคอนโซลกลางยึดติดกับตัวถังและปรับแผงคอนโซลหน้าให้ลดการสั่นสะเทือนลงจากแชสซีกับแผงหน้าปัดที่ถูกติดตั้งกับตัวถังโดยตรง ไม่ให้มีการสั่นสะเทือนไปถึงพวงมาลัย

ช่วงล่างและพวงมาลัยพาวเวอร์

การทำงานของพวงมาลัยเป็นแบบ แร็คแอนด์พิเนียน หล่อลื่นด้วยน้ำมันให้น้ำหนักกลาง ๆ ไม่หนักหรือเบาเกินไป ผู้หญิงขับไม่ต้องออกแรงเยอะจนกล้ามขึ้นทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จแน่นอน ช่วงล่างดัดแปลงเป็นปีกนกอิสระสองชั้น คอยล์สปริง และโช้กอัพแก๊ส พร้อมเหล็กกันโคลงสำหรับด้านหน้าและด้านหลังเป็นแหนบรูปครึ่งวงรีพร้อมโช้กอัพแก๊ส เราจะรับรู้ได้เองว่าระบบที่ถูกวางมานั้นดีจริงหรือไม่ดูได้จากการเข้าโค้งซึ่งมันแสดงอาการออกมาให้เราเห็นแบบชัดเจนเลยไม่แสดงการโยนตัวไม่โยกไปมามากเท่าที่กระบะทั่วไปเป็น ช่วงล่างติดถนนหนึบฉบับมาสด้าอยู่แล้วเพียงแต่มันมาในเวอร์ชั่นกระบะ สมรรถนะรับส่งกันได้ดีกับพวงมาลัย ที่น่าชื่นชมคือ Mazda BT-50 ยังคงไม่ทิ้งลายเดิมจากที่เคยเป็นเพียงแค่แอบชุบตัวใหม่เล็กน้อยเท่านั้นเอง

                ทำดีมาตั้งนานดันมาเสียทรงตรงระบบเบรกที่ถูกติดตั้งดิสก์เบรกหน้าขนาดใหญ่ 17 นิ้ว กับด้านหลังใช้ดรัมเบรกขนาด 15 นิ้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แค่ลองกดคันเร่งแต่ยังไม่ได้ลองเบรกแบบชัดเจนเลยไม่รู้ว่ามันมีระยะเบรกที่ค่อนข้างยาวเกินไป ทื่อจนต้องออกแรงเพิ่มสักนิดหน่อยมันถึงจะสนองแรงกดจากเท้าเราอาจจะยังเทียบเคียง Isuzu D-Max ไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่

พอจะสู้กับแฝดรุ่นพี่ได้หรือไม่

หลายคนย่อมดูออกว่า Mazda BT-50 สวมคาแรคเตอร์ Isuzu D-Max มาเลย ซึ่งใช่เพราะมาสด้าและอีซูซุจับมือเป็นพันธมิตรนำจุดเด่นทุกด้านของตัวเองมาผสานกันให้มีความลงตัวมากที่สุด ตั้งแต่อะไหล่ สมรรถนะ ช่วงล่าง ระบบต่าง ๆ หรือดีไซน์โฉบเฉี่ยวจาก KODO Design ของมาสด้า โดยเฉพาะ

The Review

Mazda BT-50

4.3 Score

กระบะสมคำเลื่องลือ ไม่อืดยืดยาด ไม่แข็งกระด้างเกินไป สมรรถนะสูงและช่วงล่างหนึบ

PROS

  • ดีไซน์สวยสะดุดตา
  • ช่วงล่างติดถนนจัด
  • พวงมาลัยและระบบเกียร์รับส่งกันดี
  • ลุยน้ำได้ 800 มิลลิเมตร
  • ภายในมอบความเป็นส่วนตัวมากกว่ากระบะทั่วไป

CONS

  • เบรกยังแข็งทื่อไม่ตอบสนอง

Review Breakdown

  • Driving
  • Engine & Trans
  • Fuel Consumption
  • Practicality
  • Design
  • Saftey
Exit mobile version